ลัทธิประทับใจ (Impressionism)
ลัทธิประทับใจ ขบวนการด้านศิลปะสมัยใหม่ที่ยิ่งใหญ่และกว้างขวางขบวนการแรกพวกจิตรกรในลัทธิประทับใจ แยกตัวจากการใช้กลวิธีระบายสีแสดงรอยแปรงแบบเดิม และการถ่ายทอดเส้นขอบของรูปทรงที่แลเห็นอย่างชัดเจนและหลีกเลี่ยงการคำนึงถึงว่าสิ่งต่างๆในธรรมชาตินั้นมีสีเช่นไร พวกเขาแสวงหาวิถีทางที่ถ่ายทอดวัตถุภายใต้สภาวะของแสงต่างๆ ซึ่งพวกเขาใช้วิธีแยกแสงออกเป็นส่วนๆ ถ่ายทอดการเล่นแสงที่แปรเปลี่ยนบนพื้นผิวต่างๆ เพื่อให้ได้ผลตามต้องการ พวกเขาใช้วิธีการถ่ายทอดสีแสดงรอยแปรงอย่าง ต่อเนื่องในลักษณะเป็นแต้ม เป็นจุด ซึ่งจะผสมสีเองด้วยตา แม้ว่าศิลปินในลัทธิประทับใจจะไม่ยึดมั่นต่อความคิดที่ว่าพวกเขาควรจะถ่ายทอดผลงานศิลปะเช่นไรตามแบบแนวคิดเดิมๆ แต่ความจริงแล้วพวกเขาก็พยายามสังเกตความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและพยายามที่จะถ่ายทอดลงในผลงานของเขา ลักษณะสำคัญของผลงานของเขา ลักษณะสำคัญของผลงานศิลปะในลัทธิประทับใจได้แก่ การใช้สีสดใส เข้มข้น
งานแสดงนิทรรศการศิลปะของลัทธิประทับใจในครั้งแรกมีขึ้นที่นครปารีสใน ค.ศ. 1874 ส่วนอีก 7 ครั้งต่อมาจัดขึ้นระหว่าง ค.ศ.1876 และ ค.ศ. 1886 งานของพวกเขาได้รับการดูถูกเหยียดหยามและเต็มไปด้วยปฏิกิริยาที่เป็นปฏิปักษ์จนกระทั่งกลุ่มเริ่มกระจัดกระจายแยกย้ายกันออกไปหาหนทางพัฒนาไปสู่แบบอย่างเฉพาะตน ศิลปินกลุ่มนี้จึงเริ่มได้รับความสนใจ ผู้นำของกลุ่มลัทธิประทับใจ ได้แก่ โกลด โมเนต์ (ค.ศ. 1840 – 1926) ผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมถ่ายทอดรูปกองฟาง (และเนื้อหาอื่น) ภายใต้แสงในเวลาต่างๆ ซึ่งเป็นผลงานตัวอย่างที่ดีของงานในลัทธิประทับใจที่มุ่งถ่ายทอดเกี่ยวกับผลของแสงที่มีต่อการเห็นสีของมนุษย์ แม้ว่ากลุ่มของศิลปินนี้จะมิได้รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นด้วย หลักการหรือกฎเกณฑ์เดียวกันทั้งหมด แต่กามีย์ ปิซาโร (ค.ศ. 1831 – 1903) และอัลเฟรด ซิสลีย์ (ค.ศ. 839 – 1899) ก็มีความใกล้ชิดกับโมเนต์ทั้งในรูปแบบการทำงานและชีวิตส่วนตัว ศิลปินคนอื่นๆ ซึ่งมีแนวคิดเช่นเดียวกันกับลัทธิประทับใจ คอปิแยร์ โอกุสต์ เรอนัวร์ (ค.ศ. 1841 – 1919) เอ็ดการ์ เดอกาส์ (ค.ศ. 1834 – 1917) และปอล เซซานน์ (ค.ศ. 1839 – 1906) ผู้ซึ่งเป็นอิทธิพลสำคัญให้แก่จิตรกรหนุ่มรุ่นหลังที่ตามมา กลุ่มศิลปินหนุ่มของกระบวนการที่เชื่อมโยงกับลัทธิประทับใจ ได้แก่ โกแกง และฟานก๊อก ซึ่งเป็นศิลปินที่ทำงานในลัทธิประทับใจยุคหลัง